วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

อาหารสมุนไพร

 เครื่องปรุงเนื้อปลากะพง 300 กรัม
น้ำพริกแกงเผ็ด 2 ช้อนโต๊ะ
กะทิกระป๋อง 1 กระป๋อง
ไข่ไก่ 1 ฟอง
ซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) 1 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 2 ช้อนชา
ผักกาดขาว 5 ใบ
แป้งข้าวเจ้า 1 ช้อนโต๊ะ
ผักชี 1 ต้น
พริกสด 2 เม็ด
ใบมะกรูด 3-4 

วิธีทำ1. นำเนื้อปลามาแล่เป็นชิ้นบางๆ ซับน้ำให้แห้ง พักไว้
2. นำกะทิประมาณ 1 ถ้วยมาใส่ในชามผสม (แบ่งหัวกะทิไว้ในถ้วยเล็ก ¼ ถ้วย) ใส่น้ำพริกแกงเผ็ดลงไป คนจนน้ำพริกละลายเข้ากันดี
3. ใส่ปลาลงไป คนทางเดียวไปเรื่อยๆ ให้ส่วนผสมเข้า
4. ตอกไข่ใส่ลงไป ปรุงรสด้วยซีอิ้วขาว (หรือน้ำปลา) และน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันกัน
5. เปิดเตาที่ไฟปานกลางค่อนข้างแรง ใส่น้ำเปล่าลงไปในหม้อ ระหว่างนั้น นำผักกาดขาวมาซอยหยาบๆ พอนำเดือดก็ใส่ลงไปในหม้อ รอจนน้ำเดือดอีกครั้งก็เทน้ำออก
 คนไปเรื่อยๆ จนส่วนผสมข้น ค่อยๆ เติมกะทิที่เหลื
6. บีบน้ำผักกาดขาวออกให้หมดแล้วนำไปรองก้นถ้วย ตักส่วนผสมใส่ลงไปจนเกือบเติมถ้วย จัดเรียงลงในที่นึ่งแล้วนึ่งไปประมาณ 30 นาที
7. นำหัวกะทิที่แบ่งไว้มาใส่แป้งข้าวเจ้าลงไป คนให้เข้ากันแล้วนำไปเข้าไมโครเวฟประมาณ 1 นาทีกะทิจะข้นขึ้นแล้วนำมาคนอีกครั้งหนึ่ง
8. นำผักชี พริกสด และใบมะกรูดมาล้างน้ำให้สะอาด สะเด็ดน้ำแล้วเด็ดผักชีเป็นใบๆ ซอยพริกเป็นเส้นๆ ส่วนใบมะกรูดฉีกก้านกลางใบออกแล้วหั่นเป็นฝอยๆ
9. เมื่อนึ่งครบ 30 นาที ราดหน้าแต่ละถ้วยด้วยหัวกะทิที่เตรียมไว้ โรยด้วยผักชี ใบมะกรูดหั่นฝอย และพริกซอย นึ่งต่อไปอีกประมาณ 2 นาที ก็ปิดเตาและยกลงได้
10. จัดห่อหมกใส่จาน จากนั้นก็ยกเสิร์ฟได้เลยค่ะ





วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554


 
มะละกอ มะละกอ มะละกอ ในครัวของหมอชาวบ้านเดือนนี้เต็มไปด้วยมะละกอทั้งดิบและสุก ตอนแรกเราคุยกันว่าจะทำอาหารจากมะละกอหลายประเภท เพื่อขานรับการแนะนำมะละกอในคอลัมน์ต้นไม้ใบหญ้าของคุณเดชา อาหารที่หลายๆ คนช่วยกันนึก (ด้วยความอยากกิน) คือ
  • ส้มตำ
  • แกงส้มมะละกอ
  • แกงเหลืองมะละกอ
  • แกงป่ามะละกอ
แต่สุดท้ายทุกคนก็เห็นร่วมกันว่า อาหารเหล่านี้ชาวหมอชาวบ้านคงกินกันจนเบื่อแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งส้มตำ ซึ่งจะว่าไปแล้วสูตรของใครก็ของคนนั้น เราจึงเปลี่ยนแผนขอเป็นการทำอาหารจากมะละกอที่มักถูกมองข้าม คือ ผัดมะละกอ และมะละกอต้มจิ้มน้ำพริก เพราะเวลาทำอาหารแบบนี้มะละกอมักถูกมองข้ามพืชผักชนิดอื่นมักถูกเลือกเป็นอันดับต้นๆ ทั้งๆ ที่มะละกอเป็นพืพชผลที่หาได้ไม่ยาก ปลูกไว้ข้างบ้านสักต้นสองต้นก็พอกินได้ตลอดปี ที่สำคัญปลอดสารพิษฆ่าแมลง
คุณอาจจะลองทบทวนดูก็ได้ คุณจะพบว่า คุณมักผัดบวบใส่ไข่หรือใส่กุ้งบ่อยครั้ง แต่คุณแทบจะไม่นึกถึงมะละกอใส่ไข่เลย หรือเวลาคุณหาผักจิ้มน้ำพริก คุณจะนึกถึงชะอมมะเขือ แตงกวา ถั่วฝักยาว หน่อไม้ หรือแม้แต่มะระขี้นก แต่ดิฉันอยากจะบอกคุณว่ามะละกอต้ม (จะราดกะทิหรือไม่ราดก็ได้) จิ้มน้ำพริกนั้นอร่อย ปลอดจากสารพิษ น่าลิ้มลองจริงๆ และเห็นจะขาดไม่ได้คือมะละกอสุกซึ่งกินได้ทุกเพศทุกวัย นอกจากจะมีวิตามินเอสูงแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกได้อย่างเยี่ยมยอด แต่หลายๆ คนไม่ชอบกินมะละกอสุก บางคนไม่ชอบกินเพราะเห็นมันเละๆ ดูท่าทางไม่น่าอร่อย
วันนี้ดิฉันมีข้อแนะนำในการปอกมะละกอสุกให้ดูน่ากิน เริ่มต้นดังนี้นะคะ
1. หั่นมะละกอตามขวาง ขนาดพอประมาณ
2. แบ่งเป็นส่วนๆ ถ้าใช้แนวร่องของมะละกอก็จะยิ่งสวย
3.ใช้มีดคมๆ ปอกเปลือกทีละชิ้น (ตามรูป)
เคล็ดลับ คือ พยายามลงมือไถไปเพียงครั้งเดียวในแต่ละขั้น และมือควรจะแห้งและสะอาด ก่อนปอกล้างเปลือกมะละกอให้สะอาด และหาผ้าเช็ดให้แห้งก่อน ลองปอกแบบนี้ดูนะคะ ไม่แน่ว่าคนที่ไม่ชอบมะละกออาจจะเปลี่ยนมาชอบก็ได้ อย่าลืมเก็บเมล็ดมะละกอไว้ปลูกด้วยนะคะ

วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

มะละกอผ่าสรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะละกอ

วันนี้เรามีอีกหนึ่งสรรพคุณของมะละกอและประโยชน์ของมะละกอมาบอกเล่าเก้าสิบให้ทุกคนผู้รักสุขภาพได้ฟังกัน หรือใครก็ตามที่ชอบนึกยี้ผลไม้อย่างมะละกอล่ะก็อาจจะต้องเปลี่ยนใจเมื่อได้รู้ถึง สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ และ สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ ที่เรานำมาบอกกันในวันนี้นั่นก็คือ ผลไม้อย่างมะละกอสุกนั่นเองค่ะ หากเป็นมะละดิบอย่างส้มตำหลาย ๆ คนคงจะไม่ค่อยปฏิเสธแต่หากเป็นเป็นมะละกอสุกหลายคนบ่นร้องยี้ซะงั้น นั้นเพื่อให้คุณเปลี่ยนใจหันมารับประทานมะละกอสุขภันมากขึ้นก็มาดู สรรพคุณของมะละกอ และ ประโยชน์ของมะละกอ กันเลยค่ะ



สรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะละกอ


สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะละกอ


มะละกอสุก ๆ เนื้อสีส้มแดงนี่แหละขอบอกว่าเป็นผลไม้ที่ดีที่สุดของความมีประโยชน์ทีเดียว ใครไม่กินก็บอกได้เลยว่า คุณกำลังพลาดของดีชนิดที่สุขภาพไม่น่าให้อภัยเลย มะละกอสุกกินง่ายกว่ามะละกอดิบตั้งเยอะสามารถปอกเปลือกแล้วลำเลียงลงกระเพาะได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาในการปรุงแต่งแต่อย่างใด เป็นอาหารบริสุทธิ์ที่ธรรมชาติบรรจงสร้างมาให้เรา ฉะนั้นเรามาว่ากันถึงความอร่อยและมีประโยชน์ของมะละกอกันเลยดีกว่า

นอกจากเนื้อหวาน ๆ แสนอร่อยแล้วทุกส่วนของมะละกอยังสามารถนำมาใช้ทำยาได้ ผลการวิจัยพบว่า ประโยชน์ของมะละกอมีอยู่มากมายตั้งแต่ช่วยต้านมะเร็ง ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี บรรเทาอาการท้องผูกซึ่งเป็นที่มาของโรคริดสีดวงทวาร ป้องกันอาการตับโต เป็นยาบำรุงหัวใจ ตับ และสมอง

สรรพคุณและประโยชน์ของมะละกอยังเผื่อแผ่ไปถึงเด็กทารกที่ดูดนมมารดาอีก เพราะช่วยกระตุ้นให้แม่มีน้ำนมมากขึ้นป้องกันโรคนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการติดเชื้อจากจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในลำไส้ เรื่องความสวยงาม มะละกอยังมีเอนไซม์ที่ช่วยบำรุงผิวได้เป็นอย่างดี ใครอยากมีผิวหน้าเนียนขาวนุ่มชุ่มชื่นก็นำมะละกอสุกครึ่งถ้วยผสมกับน้ำผึ้ง แท้ 1 ช้อน นมสดอีก 1 ช้อน ปั่นเข้าด้วยกันเป็นครีมข้น ทาให้ทั่วผิวหน้า ทิ้งไว้ 10 - 15 นาทีแล้วล้างออก เท่านี้ก็เห็นผลทันตาและทันใจทีเดียว

เป็นไงละคะ คำโฆษณาพอจะชวนเชื่อให้คุณหันมาชอบมะละกอกันได้บ้างหรือยัง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก marie claire ขอขอบคุณภาพจากอินเตอร์เน็ต
มะละกอ (Papaya) เป็นผลไม้ไทยที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ของมะละกอมีมากมายไม่ว่าจะนำมาทำเป็นอาหารเช่น แกงส้มมะละกอ ทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นชามะละกอ หรือแม้แต่นำผลสุกมาปอกกินเล่นก็ยังมีประโยชน์ช่วยให้ขับถ่ายง่ายป้องกันท้องผูก อีกทั้งมะละกอเป็นพืชที่ปลูกง่ายการปลูกมะละกอไม่ต้องการการดูแลมากอาศัยพื้นที่ว่างบริเวณรั้วบ้านก็ใช้เป็นที่ปลูกมะละกอได้แล้วเพียงแต่ต้องคอยระวังอย่าให้มีน้ำท่วมในบริเวณที่ปลูกมะละกอก็พอ ยอมเสียพื้นที่ในการปลูกมะละกอไว้แถวบริเวณบ้านสัก 1-2 ต้นรับรองว่าประโยชน์ของมะละกอที่ได้รับจะคุ้มเกินคุ้มอย่างแน่นอน

มะละกอ (Papaya) เป็นพืชยืนต้น สูงประมาณ 3-4 เมตร ลำต้นตั้งตรง เนื้อลำต้นจะอ่อน ลักษณะผลของมะละกออาจมีรูปร่างทั้งเป็นลูกกลมหรือทรงยาวรีแล้วแต่พันธุ์ของมะละกอ มะละกอที่ยังดิบอยู่เปลือกนอกจะมีสีเขียวพอผลมะละกอสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองออกส้ม มะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบให้มีน้ำท่วมขังเพราะจะทำให้รากเน่าและตายได้ มะละกอเป็นพืชที่นิยมปลูกในบริเวณรั้วบ้านวิธีการปลูกมะละกอทำได้ง่ายเพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ต้องการการดูแลมากนักและทนต่อความแห้งแล้งได้ดีพอสมควร หากมีต้นมะละกอในบริเวณบ้านระวังอย่าให้น้ำท่วมก็พอ ประโยชน์ของมะละกอสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วนของต้นเลยทีเดียว

ประโยชน์ของมะละกอ เริ่มจากส่วนที่เป็นใบและยอดของมะละกอนำมาใช้ปรุงอาหารได้ ส่วนของลำต้นมะละกอภายในจะเป็นเนื้อสีขาวครีมลักษณะเนื้อจะอ่อนนุ่มคล้ายกับหัวผักกาดจีนที่เราสามารถนำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนกันจะเป็นการดองเค็มหรือตากแห้งเก็บไว้กินก็ได้ ประโยชน์ของมะละกอเมื่อใช้ปรุงเป็นอาหารจะมีประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารที่สำคัญหลายอย่างเช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินซี (Vitamin A B C) ธาตุเหล็กและแคลเซียม สารอาหารเหล่านี้ล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น

ประโยชน์ของมะละกอดิบ ผลดิบของมะละกอที่มีเปลือกสีเขียวนั้นภายในจะมียางสีขาวข้นเรียกกันว่ายางมะละกอ สรรพคุณของยางมะละกอใช้หมักเนื้อทำให้เนื้อนุ่มและเร่งให้เปื่อยเร็วขึ้นเมื่อต้มและหากนำยางมะละกอไปสกัดเป็นเอนไซม์ที่มีชื่อว่าปาเปอีน (Papain Enzyme) สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้อีกด้วย  ประโยชน์ของมะละกอดิบยังใช้เป็นยาสมุนไพร (Herb) เป็นยาระบายอ่อนๆช่วยในการขับปัสสาวะหรือจะนำผลมะละกอดิบไปทำเป็นเครื่องดื่มสมุนไพรคือ ชามะละกอ ที่มีสรรพคุณในการล้างลำไส้จากคราบไขมันที่เกาะติดอยู่ที่เกิดจากการกินอาหารที่ผัดด้วยน้ำมันเป็นประจำ เมื่อชามะละกอช่วยล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ออกไปแล้วจะทำให้ระบบดูดซึมสารอาหารทำงานได้เต็มที่

ประโยชน์ของมะละกอที่เห็นอยู่ทุกวันคือการนำไปปรุงเป็นอาหารคือ ส้มตำ (Papaya Salad)  ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคอีสานและเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ  ส่วนผลมะละกอสุกสามารถปอกกินเป็นผลไม้ได้เลย ประโยชน์ของมะละกอที่เป็นผลสุกคือช่วยบำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหารเป็นยาระบายอ่อนๆทำให้ระบบขับถ่ายดีไม่มีอาการท้องผูก ผลมะละกอสุกยังสามารถนำไปทำเป็น น้ำมะละกอ ได้อีกเอนไซม์ปาเปอีน (Papain Enzyme) ที่อยู่ในผลมะละกอจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารทำให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ประโยชน์ของมะละกอสุกยังมีสารอาหารที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) คือเบต้าแคโรทีนที่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย บำรุงผิวพรรณ ลดริ้วรอยซึ่งเป็นประโยชน์ของมะละกอในด้านความสวยความงามนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง ฯลฯ บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ รวมเรียกว่า เครือ พืชบางชนิดมีลำต้นคล้ายปาล์ม ออกใบเรียงกันเป็นแถวทำนองพัดคลี่ คล้ายใบกล้วย เช่น กล้วยพัด (Ravenala madagascariensis) ทว่าความจริงแล้วเป็นพืชในสกุลอื่น ที่มิใช่ทั้งปาล์มและกล้วยการใช้ประโยชน์
กล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบตองใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิด ลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย กระทง

[แก้] อาหารที่ทำจากกล้วย

ส่วนต่างๆของกล้วยนำมาทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งหัวปลี หยวกกล้วย ผลทั้งสุกและดิบ ตัวอย่างเช่น กล้วยแขก กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด กล้วยทอด
ถิ่นกำเนิดของกล้วย (First Home)
กล้วยเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ถิ่นแรกของกล้วยจึงอยู่แถบเอเชียตอนใต้ ซึ่งจะพบกล้วยพื้นเมืองทั้งที่มีเมล็ดและไม่มีเมล็ด และจากผลของการย้ายถิ่นฐานในการทำมาหากิน การอพยพประชากรจากเอเชียตอนใต้ไปยังหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราชเป็นต้นมา ในการอพยพแต่ละครั้งจะต้องมีการนำเอาเสบียงอาหารติดตัวไปด้วย จึงได้มีการนำเอากล้วยไปปลูกแถบหมู่เกาะฮาวายและหมู่เกาะทางด้านตะวันออก
สำหรับประวัติกล้วยในประเทศไทย เข้าใจว่าประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของกล้วยป่าและต่อมาได้มีการนำเข้ากล้วยตานี และกล้วยชนิดอื่นในช่วงที่มีการอพยพของคนไทยในการตั้งถิ่นฐานอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย มีเอกสารกล่าวว่าในสมัยอยุธยาพบว่ามีกล้วยร้อยหวี
ลักษณะทั่วไป

รูปร่างและลักษณะของกล้วยแต่ละชนิดในประเทศไทย

เนื่องจากกล้วยแต่ละชนิดมีรูปร่างและลักษณะเฉพาะตัว ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องแจกแจงให้เกิดความเด่นชัดของกล้วยแต่ละชนิดไว้ดังต่อไปนี้ :
  กล้วยสกุล Musa : มีการแตกหน่อและใช้ผลรับประทานได้
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Callimusa: ที่พบในประเทศไทยขณะนี้มีชนิดเดียว คือ
กล้วยป่าชนิด Musa gracilis Horltt. ชื่ออื่นๆ กล้วยทหารพราน หรือกล้วยเลือด
กล้วยชนิดนี้ มีลำต้นเทียมสูง 0.6 – 2 เมตร โคนต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 เซนติเมตร กาบและใบมีปื้นสีม่วงเข้ม ใบกว้าง 25-35 เซนติเมตร ยาว 90-150 เซนติเมตร สีเขียว มีนวล ก้านใบยาว 30-70 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งยาว 60 เซนติเมตรหรือกว่านั้น ก้านช่อดอกมีขนสั้นปกคลุมหนาแน่น ดอกตัวเมียสีขาวหม่น ปลายสีเขียว ยาว 2.5-4 เซนติเมตร เรียวชิดกัน 3-8 แถว แถวหนึ่ง มี 2-4 ดอก ใบประดับกว้างประมาณ 4.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15 เวนติเมตร สีม่วงปลายสีเขียว อาจร่วงหลุดไปก่อนบ้าง ดอกตัวผู้สีเหลือง ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ผลตรง สีเขียว มีนวลและมีทางสีม่วงตามยาวของผล ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เป็นเหลี่ยม 2-3 เหลี่ยม ปลายทู่ ก้านผลยาวประมาณ 2 เซนติเมตร เมื่อยังอ่อนมีขนประปราย แก่แล้วผิวเกลี้ยง
กล้วยป่าชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทางภาคใต้ ในท้องที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส ขึ้นในป่าดิบชื้น ในต่างประเทศพบที่มาเลเซีย ชาวมลายูเรียกว่าปีชังกะแต ปีชังเวก และปีชังโอนิก
 
กล้วยสกุล Musa ในหมู่ Eumusa: ในประเทศไทยมี 3 ชนิด คือ
กล้วยป่า ( Musa acuminata Colla) ชื่ออื่น ๆ กล้วยแข้ ( เหนือ ). กล้วยเถื่อน ( ใต้ ). กล้วยลิง ( อุตรดิตถ์ ). กล้วยหม่น ( เชียงใหม่ )
กล้วยป่า มี ลำต้นเทียมสูง 2.5 – 3.5 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นนอกมีปื้นดำ มีนวลเล็กน้อย ส่วนด้านในสีแดง ก้านใบสีชมพูอมแดงมีจุดดำ มีครีบเส้นกลางใบสีเขียว ใบชูขึ้นค่อนข้างตรง ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ๆ มาก ใบประดับรูปค่อนข้างยาว ปลายแหลมด้านบนสีม่วงอมแดง มีนวล ด้านล่างที่โคนสีแดงจัด เมื่อใบกางตั้งขึ้นจะเอนไปด้านหลัง และม้วนงอเห็นได้ชัด การเรียงของใบประดับช่อดอกไม่ค่อยช้อนมาก และจะมีลักษณะนูนขึ้นที่โคนของใบประดับ เห็นเป็นสันชัดเจนเมื่อใบประดับหลุดออก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ผลมีก้านและมีขนาดเล็ก รูปร่างของผลมีหลายแบบแล้วแต่ชนิดย่อย (Subspecies) บางชนิดมีผลโค้งงอ บางชนิดไม่โค้งงอ ผลมีเนื้อน้อยสีขาว รสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก สีดำ ผนังหนา และแข็ง
กล้วยป่าที่พบในประเทศไทยมี 4 ชนิดย่อย (Subspecies) คือ
•  Musa acuminata Colla ssp. siamea Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. burmanisa Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. malaccensis (Ridl.) Simmonds
•  M. acuminata Colla ssp. microcarpa (Becc.) Simmonds
กล้วยเหล่านี้พบว่าขึ้นอยู่ทั่วไปในป่าดิบ มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาคในต่างประเทศพบที่อินเดีย พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย กล้วยชนิดนี้ นอกจากขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อแล้ว ยังใช้เมล็ดปลูกได้ ผลของกล้วยป่าเมื่อสุกกินได้ แต่ไม่นิยมเพราะมีเมล็ดมาก ผลอ่อนและหัวปลีรับประทานได้
กล้วยตานี ( Musa balbisiana Colla) ชื่ออื่น ๆ กล้วยงู ( พิจิตร ): กล้วยชะนีใน . กล้วยตานีใน . กล้วยป่า . กล้วยเมล็ด ( สุรินทร์ ): กล้วยพองลา ( ใต้ )
กล้วยตานี ลำต้นเทียมสูง 3.5-4 เมตร เว้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร สีเขียว ไม่มีปื้นดำ กาบลำต้นด้านในสีเขียว ก้านใบสีเขียว เส้นกลางใบสีเขียวไม่มีร่อง ก้านช่อดอกสีเขียวไม่มีขน ใบประดับรูปค่อนข้างป้อม มีความกว้างมาก ปลายมน ด้านบนสีแดงอมม่วง มีนวล ด้านล่างสีแดงเข้มสดใส เมื่อใบประดับกางขึ้นตั้งฉากกับช่อดอกและไม่ม้วนงอ ใบประดับแต่ละใบซ้อนกันลึก เครือหนึ่งมีประมาณ 8 หวี หวีหนึ่งมี 10-14 ผล ผลป้อมขนาดใหญ่ มีเหลี่ยมเห็นชัดเจน ลักษณะคล้ายกล้วยหักมุกแต่ปลายทู่ ก้านผลยาว ผลเมื่อสุกผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดใหญ่สีดำ ผนังหนา แข็ง
กล้วยตานีที่พบในประเทศไทยมี 3 ชนิด แตกต่างที่ลำต้นเทียมและผล กล่าวคือกล้วยตานีพบทางภาคเหนือนั้น ลำต้นเทียมเกลี้ยงไม่มีปื้นดำเลย ผลจะสั้น ป้อม ส่วนตานีอีสานจะมีลำต้นเทียมที่มีประดำเล็กน้อย ผลคล้ายกล้วยน้ำว้า แต่ตานีทางภาคใต้ ลำต้นเทียมค่อนข้างจะมีปื้นดำหนา ผลคล้ายตานีเหนือแต่นาวกว่า และมีสีเขียวเป็นเงา นอกจากนี้ยังได้มีการนำตานีดำมาจากฟิลิปปินส์ แต่ตานีดำนี้เป็นพันธุ์พื้นเมืองของอินโดนีเซีย ลำต้นเทียมสีม่วงดำและเส้นกลางใบสีม่วงดำสี
เข้มมากจนดูเหมือนสีดำ ผลสีเขียวเข้มเป็นมันมีลักษณะคล้ายตานีใต้ มีเมล็ดมาก
 
กล้วยหก ( Musa itinerans Cheeseman) , กล้วยแดง ชื่ออื่น ๆ กล้วยอ่างขาง
กล้วยหกเป็นกล้วยป่าอีกชนิดหนึ่งใน section Eumusa ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวอมเหลืองมีประดำเล็กน้อย ด้านในสีเหลืองอ่อน ก้านในสีเขียวอมเหลืองและมีประเล็กน้อยมีปีก เส้นกลางใบสีเขียวก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ ปลายมน ด้านบนสีเหลืองอมม่วงเข้ม ไม่มีนวล ด้านล่างสีครีม แต่ละใบเรียงซ้อนกันลึกและมีสันตื้นเมื่อใบประกอบหลุด เครือหนึ่งมี 5-7 หวี หวีหนึ่งมี 9-13 ผล ผลป้อม ปลายทู่ โคนเรียว ก้านผลยาวเกือบเท่าความยาวของผล เนื้อสีเหลืองและมีเมล็ด
กล้วยหกมีผลสีเขียวผลเล็ก ส่วนกล้วยแดงมีผลใหญ่กว่านิดหน่อยและเปลือกสีแดงพบมากในทางภาคเหนือ เช่น ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ พิจิตร พิษณุโลก และที่ดอยอ่างขาง จังหวัดเชียงใหม่ ปลีรับประทานได้
 
สำหรับกล้วยกินได้ มีดังนี้
กล้วยไข่ ‘Kluai Khai' ชื่ออื่น ๆ กล้วยกระ ชื่อสามัญ Pisang Mas
กล้วยไข่มีลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 16 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีเขียวปนเหลือง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูแดง ก้านใบสีเขียวอมเหลือง มีร่องกว้าง โคนก้านใบมีปีกสีชมพู ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปไข่ ม้วนงอขึ้น ปลายค่อนข้างแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างที่โคนกลีบสีซีด กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวไม่มีสี เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมีความยาวใกล้เคียงกันแต่เกสรตัวเมียสูงกว่าเล็กน้อย เกสรตัวเมียมีสีเหลือง ส่วนเกสรตัวผู้มีสีชมพู เครือหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลค่อนข้างเล็ก กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร ก้านผลสั้นเปลือกค่อนข้างบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองสดใส บางครั้งมีจุดดำเล็ก ๆ ประปราย เนื้อสีครีมอมส้ม รสหวาน
กล้วยไข่ปลูกกันมากเป็นการค้าที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก นครสวรรค์ เพชรบุรี และปลูกทั่ว ๆ ไปในสวนหลังบ้านในทุกภาคของประเทศไทย เพราะเป็นกล้วยที่รสชาติดี และใช้ในเทศกาลสารทไทย ผลรับประทานสด และเป็นเครื่องเคียงของข้าวเม่าคลุก และกระยาสารท นอกจากนี้ยังใช้ทำกล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด และกล้วยบวชชี ปัจจุบันกล้วยไข่เป็นสินค้าออกที่ส่งไปยังประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่นและฮ่องกง

กล้วยไข่ทองร่วง ‘Kluai Khai Thoung Roung']
มีความสูงไม่เกิน 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำปานกลาง พื้นด้านในมีสีแดงเรื่อ ๆ ปน ก้านใบเปิด มีสีแดงปนค่อนข้างชัดเจน
พู่ ก้านช่อดอกมีขนอ่อน ใบประดับรูปร่างค่อนข้างยาว ปลายแหลม ใบประดับม้วนขึ้น ด้านนอกสีม่วงแดง มีนวลปานกลาง ด้านในซีดเล็กน้อย กลีบรวมเดี่ยวใสและมีรอยย่น ส่วนกลีบรวมใหญ่สีครีม ปลายสีเหลือง ผลมีขนาดเล็กใกล้เคียงกับกล้วยไข่ เมื่อสุกมีผิวสีเหลือง ก้านช่อดอกมีขน เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมีมากกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล น้ำหนักผลหนักประมาณ 87 กรัม มีรสหวาน เมื่อสุกเต็มที่ผลมักร่วง
 
กล้วยเล็บมือนาง ‘Kluai Leb Mu Nang' ชื่ออื่น ๆ กล้วยข้าว . กล้วยเล็บมือ ( สุราษฎร์ธานี ): กล้วยทองดอกหมาก ( พัทลุง ) กล้วยหมาก ( นครศรีธรรมราช )
กล้วยเล็บมือนางมีลำต้นสูงเทียมไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านในสีชมพูอมแดง ใบตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนค้างยาว ม้วนงอขึ้นปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด ดอกตัวผู้หลุดร่วงไปหลังจากใบประดับร่วง ดอกตัวผู้มีสีครีม ดอกตัวเมียสีชมพูอ่อน ปลายสีเหลือง ก้านเกสรตัวเมียตรง เกสรตัวผู้มีความยาวกว่าเกสรตัวเมีย กลีบรวมใหญ่มีสีเหลืองอ่อน ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวใสไม่มีสี ปลายหยัก เครือชี้ออกทางด้านข้าง เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร รูปโค้งงอปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอม เนื้อในสีเหลือง รสหวาน
กล้วยเล็บมือนางนิยมปลูกในแถบภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดชุมพร ปัจจุบันปลูกทั่ว ๆ ไปในสวนหลังบ้าน เพราะเป็นกล้วยที่มีรสชาติดีชนิดหนึ่ง
กล้วยหอมจันทร์ ‘Kluai Homchan'
กล้วยหอมจันทร์มีลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำเล็กน้อย ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีก เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนค้างยาวม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง ด้านล่างสีแดงซีด เครื่องหนึ่งมีประมาณ 7 หวี หวีหนึ่งมีประมาณ 14 ผล ผลเล็ก กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 9-11 เซนติเมตร รูปคล้ายกล้วยเล็บมือนาง แต่ปลายผลไม่เรียวแหลม มีจุกสั้นเมื่อเทียบกับขนาดของผล ก้านผลสั้น เปลือกหนากว่ากล้วยเล็บมือนาง เมื่อสุกมีสีเหลืองคล้ายกัน กลิ่นหอมเย็น เนื้อสีเหลือง รสหวาน
กล้วยหอมจันทร์ปลูกทางภาคเหนือ ส่วนใหญ่ปลูกในสวนหลังบ้าน และปลูกเป็นการค้าทางภาคใต้
 
กล้วยไล ‘Kluai Lai'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นมีประดำปานกลาง มีไขปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพูปน ก้านใบเปิดกว้างมีปีกเล็กน้อยและมีสีเขียว ปนชมพู เส้นก้านใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขน เครืออกชี้ทางด้านข้าง ส่วนปลีห้อยลง ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม มีสีม่วงเข้ม ไม่มีไข ปลายม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลขนาดเล็ก ผลเมื่อสุกมีสีส้มอมเหลือง รสหวาน
 
กล้วยสา ‘Kluai Sa'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวเข้มมีจุดดำประน้ำตาลเข้มมากและมีนวลปานกลาง ด้านในสีออกชมพู ก้านใบมีนวลมากมีสีม่วงแดงเข้ม ทั้งด้านล่างและขอบใบ ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับมีรูปไข่ รูปร่างยาวปลายแหลม เครือห้อยลง เครือหนึ่งมีมากกว่า 8 หวี หวีหนึ่งมี 18-22 ผล ผลมีขนาดเล็ก กว้างประมาณ 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 9 เซนติเมตร ผลหนึ่งหนัก 80-90 กรัม
 
กล้วยทองขี้แมง ‘Thong Khi Meew'
ลำต้นเทียมมีความสูงประมาณ 2.5-3.0 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นเทียมด้านนอกสีเขียวเข้มมีจุดประสีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก และมีนวลมาก ด้านในสีออกชมพู ก้านใบมีสีเขียวมีปีกสีชมพู ก้านช่อดอกมีขน ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม และม้วนขึ้น ใบประดับมีสีแดงเทาไม่มีไข กลีบรวมใหญ่สีขาว ปลายสีเหลือง กลีบรวมเดี่ยวใสไม่มีสี ดอกตัวผู้และตัวเมียมี ใบประดับมีรูปร่างเรียวยาว ปลายแหลม ด้านในสีซีด ดอกตัวเมียมีความสูงมากกว่าดอกตัวผู้ เครือกล้วยชี้ไปทางด้านข้างรวมทั้งปลี เครือหนึ่งมี 7 หวี หวี หนึ่งมี 10-16 ผล ผลเมื่อสุกมีสีเหลืองอมส้ม มีเมล็ด
 
กล้วยทองกาบดำ ‘Kluai Thong Kab Dam'
ลำต้นเทียมมีความสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 15 เซนติเมตร มีประดำปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพู ก้านใบมีปีกและมีสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขนเล็กน้อย เครือออกทางด้านข้างขนานกับพื้นดินรวมทั้งปลีด้วย ก้านเครือมีขน ปลีมีรูปไข่ยาว ปลายแหลม มีไขปานกลาง สีม่วงเข้ม ปลีม้วนขึ้น เครือหนึ่งมี 7-8 หวี หวีหนึ่งมีผลไม่เกิน 16 ผล ผลสุกสีเหลืองอมส้ม ผลมีขนาดไม่ใหญ่
 
กล้วยน้ำไท ‘Klaui Nam Thai'
กล้วยน้ำไทมีลำต้นเทียมสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีประดำหนา ที่โคนมีสีชมพูอมแดง ด้านในสีชมพูอมแดง ก้านใบตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีปีกสีชมพู เส้นใบสีชมพูอมแดง ก้านช่อดอกมีขน ใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาวม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านบนสีม่วงอมแดง ด้านล่างสีซีด เครือหนึ่งมีประมาณ 5 หวี หวีหนึ่งมี 12-18 ผล ผลคล้ายกล้วยหอมจันทร์ ขนาดใกล้เคียงกัน กว้าง 2 –2.05 เซนติเมตร ยาว 10-11 เซนติเมตร ผลไม่งอโค้งเท่ากล้วยหอมจันทร์ มีหัวจุกใหญ่แต่เล็กกว่าหอมจันทร์ ที่ปลายจุกมักมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ เปลือกหนากว่าหอมจันทร์ มีกลิ่นหอมเย็น เมื่อสุกสีเหลืองเข้มกว่ากล้วยหอมจันทร์และมีจุดดำเล็ก ๆ คล้ายจุดของกล้วยไข่ กลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองส้ม รสหวาน

กล้วยน้ำนม ‘Klaui Nam Nom'
ลำต้นเทียมมีความสูงน้อยกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านในสีเขียว มีไขมาก ก้านใบมีปีกเป็นสีชมพูเล็กน้อย เส้นกลางใบสีเขียว เครือออกขนานกับพื้นดินส่วนปลีห้อยลง ก้านเครือมีขน ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว สีแดงอ่อน ปลายแหลม มีไขปานกลาง ใบประดับม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี ประมาณ 10 ผล
 
กล้วยหอมสั้น ‘Kluai Hom Son'
ลำต้นเทียมมีความสูงน้อยกว่า 2.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ลำต้นมีประดำและไขปานกลาง กาบลำต้นด้านในมีสีชมพู ก้านใบมีปีกเป็นสีชมพู เส้นกลางใบสีเขียว เครือออกทางด้านข้างขนานกับดินรวมทั้งปลีด้วย ก้านช่อดอกมีขนเล็กน้อย ปลีมีใบประดับรูปไข่ยาว ปลายแหลม สีม่วงเข้ม ปลายม้วนขึ้น เครือหนึ่งมีน้อยกว่า 7 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล ผลสุกมีสีเหลืองอมส้ม มีขนาดใกล้เคียงกับกล้วยน้ำว้าแต่รูปร่างเหมือนกล้วยไข่ รสหวาน
กล้วย เป็นไม้ผล ลำต้น เกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน สูงประมาณ 2 – 5 เมตร
ใบ เป็นใบเดี่ยว เกิดกระจายส่วนปลายของลำต้นเวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน ก้านใบยาว แผ่น ใบกว้าง เส้นของใบขนานกัน ปลายใบมน มีติ่ง ผิวใบเรียบลื่น ใบมีสีเขียวด้านล่างมีไขนวลหรือแป้งปกคลุม เส้นและขอบใบเรียบ ขนาดและความยาวของใบขึ้นอยู่กับแต่ละพันธุ์
ดอก เป็นดอกห้อยลงมายาวประมาณ 60 – 130 ซม. ซึ่งเรียกว่าหัวปลี ตามช่อจะมีกาบหุ้มสีแดงเป็นรูปกลมรี ยาว 15 – 30 ซม. ช่อดอกมีเจริญก็จะกลายเป็นผล ผล เป็นผลสดจะประกอบด้วยหวีกล้วย เครือละ 7 – 8 หวี แต่ละหวีมีกล้วยอยู่ประมาณ 10 กว่าลูก ขนาดและสีของกล้วยจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของแต่ละพันธุ์ บางชนิดมีผลสีเขียว , เหลือง , แดง แต่ละต้นให้ผลครั้งเดี่ยวเท่านั้น เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำ หนาเหนียวเนื้อในเมล็ดมีสีขาว
ขยายพันธุ์ ด้วยการแยกหน่อ หรือแยกเหง้า
รสชาติ รสฝาด
ประโยชน์
ทางด้านอาหาร เป็นไม้ผลนำมาบริโภค ใบนำมาห่อขนม หรือส่วนของลำต้น ใบนำมาทำกระทง ก้านนำมาประดิษฐ์เป็นของเล่น ประโยชน์ทางสมุนไพร ยางกล้วยจากใบใช้ห้ามเลือด โดยหยดยางลงบนแผล ใช้กล้วยดิบทั้งลูกบดกับน้ำให้ละเอียด และใส่น้ำตาล รับประทาน แก้โรคท้องเสีย แผลในกระเพาะอาหารไม่ย่อย ผลสุกให้เป็นอาหารเป็นยาระบายที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร อุจาจาระแข็ง หัวปลี แก้โรคลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง และลดน้ำตาลในเลือด

กล้วยกับความเชื่อของคนไทย
ความเชื่อเรื่องกล้วยของคนไทยมีอยู่มากมาย เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่อยู่คู่คนไทยมาอย่างเนิ่นนานแล้ว ในหญิงมีครรภ์มักไม่รับประทานกล้วยแฝดเพราะมีความเชื่อว่าจะได้ลูกแฝด แต่ถ้าบ้านไหนอยากได้ลูกแฝดก็รับประทานกล้วยแฝด
สำหรับหญิงแม่ลูกอ่อนถ้ารับประทานแกงหัวปลี จะมีน้ำนมมาก ถ้าคิดตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว หัวปลีเป็นพืชที่มีธาตุเหล็กสูง บำรุงเลือดดี จึงทำให้มีน้ำนมมากนั้นเอง
ต้นกล้วยที่ขาวเนียนสะอาด ไม่มีกาบใบแห้ง มักเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของนางพรายตานี เป็นผีผู้หญิง ที่มีหน้าตาสวยงาม ผิวขาว จะปรากฏตัวตอนกลางคืน โดยยืนอยู่ใต้ต้นกล้วยนั้นๆ
ในด้านยาอายุวัฒนะ หากนำกล้วยแช่น้ำผึ้งปิดไหแล้วใช้ปูนแดงทาก่อนฝาปิด จากนั้นเอาไว้ใต้ฐานพระในวันเข้าพรรษา ปล่อยไว้นานสามเดือน ก็สามารถนำมารับประทานได้ ทั้งนี้ก็เป็นแนวคิดด้านการถนอมอาหารอีกวิธีหนึ่งด้วย
ในงานมงคลมักมีกล้วยเข้ามาร่วมเกี่ยวในพิธีด้วย เช่น กล้วยทั้งเครือ กล้วยดิบ เป็นต้น ซึ่งหมายถึง ความอุดมสมบูรณ์ มีลูกเต็มบ้านมีหลานเต็มเมือง และความสงบร่มเย็น
ในสมัยก่อนคนที่เป็นโรคฝีดาษ มีแผลพุพอง ก็มักให้นอนบนใบกล้วยเพราะจะทำให้น้ำเหลืองไม่ติดกับเสื้อผ้าบังเกิดความเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย ส่วนการประหารชีวิตนั้น ก่อนลงมือประหารจะมีการนำใบกล้วยมาปูรองก่อน เพื่อกันเลือดไหลลงไปบนดิน เป็นต้น

ความเชื่อเรื่องกล้วยของชาวต่างชาติ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์แบบย่อของกล้วยว่า Musa กล่าวกันว่า Musa มาจากคำภาษาอาหรับว่า Muz ก็มีรากเดิมมาจากคำสันสกฤตว่า Mocha อีกทอดหนึ่งซึ่งหมายถึงกล้วย
เหมือนกัน อีกกระแสหนึ่งที่ฟังดูน่าเชื่อถือน้อยกว่าบอกว่า Musa เป็นชื่อตั้งตามหมอชาวอาหรับในสมัยโรมัน คือ Antonius Musa ผู้นำกล้วยจากอินเดียมากจากอินเดียมาปลูกในถิ่น
ทางเหนือของอียิปต์ ก่อนหน้าที่ฝรั่งจะเรียกกล้วยว่า Banana อย่างเป็นเอกฉันท์ กล้วยถูกเรียกว่า Plantain ตามคำภาษาสเปนว่า Plantano ซึ่งอาจมีรากมาจากคำลาตินว่า Planta ที่
แปลว่าใบกว้าง (spreading leaf) นอกจากนั้นฝรั่งเศสและอิตาลีเคยเรียกกล้วยว่า "fig" โดยมาจากคำเต็ม ๆ ว่า figue d Adam หรือ fico d Adamo ซึ่งอาจแปลได้ว่า "มะเดื่อของอาดัม"
อาดัมนี่คือ (อาดัมกับอีฟในตำนานสร้างโลกของศาสนาคริสต์) ส่วน fig น่าจะหมายถึงใบมะเดื่อที่อาดัมใช้ปิดอวัยวะเพศของตน อย่างไรก็ตามปัจจุบันยังมีที่ใช้คำนี้อยู่คือ
banana fig แต่นี่หมายถึงกล้าวยตากโดยเฉพาะส่วนคำ Banana ในปัจจุบันเรียกตามภาษาแอฟริกาตะวันตกซึ่งอาจมีตากจากคำภาษาอาราเบียว่า Banan ซึ่งหมายถึงนิ้วมือ
หรือนิ้วเท้าในสังคมไทย กล้วย ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบแสดงถึงคุณลักษณะทำได้ง่าย เช่นง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก หรือเรื่องกล้วยกล้วย แต่ในสังคมตะวันตกยุค
บริโภคนิยม ถูกใช้ในเชิงเปรียบเทียบเป็นสัญลักษณ์กามารมณ์ โดยเฉพาะอวัยวะเพศผู้ชายเช่นสโลแกนโฆษณาว่า unzip a banana นอกจากนั้นยังมีที่ใช้ banana ในภาษาพูดอัน
หมายถึงอาการ บ้า หรือ เพี้ยน ฝรั่งเองก็ยังสืบค้นไม่ได้ว่า บ้าจะเกี่ยวข้องกับบานานาได้อย่างไรกล้วยในเอเชียใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งจริยธรรม คุณความดี ความงาม
ความเจริญงอกงามในหมู่ชาวอาหรับถือว่ากล้วยเป็นพันธุ์ไม้แห่งสวรรค์ หรือพันธุ์ไม้แห่งปัญญา ที่รู้แยกแยะความดีกับความเลว ตำนานอินเดียถือว่ากล้วยเป็นผลไม้ของผู้มีปัญญา
โดยเล่าขานถึงฤาษีในดงกล้วย ผู้กินกล้วยเป็นอาหารจนเกิดกำลังและปัญญาเป็นที่อัศจรรย์ หลายประเทศในเอเชียถือว่ากล้วยเป็นผลไม้สำหรับเซ่นสังเวยผีและเทวดา ตลอดจน
ผู้มีพระคุณของไทยเรา กล้วยเป็นของที่ขาดไม่ได้ใน ตั้งขันข้าว หรือค่าบูชาคุณ หมอตำแยที่มาทำคลอดให้ กล้วยทั้งหวีเป็นของเซ่นเทวดาและบรรพบุรุษในพิธีเซ่นไหว้อย่างคนจีน
น้ำชาและผลไม้เป็นเครื่องเซ่นพื้นฐานและผลไม้เครื่องเซ่นที่ขาดเสียมิได้ก็คือส้มสีทองและกล้วยทั้งหวี ขนมกล้วยเป็นขนมที่พบได้ประจำในพิธีหมั้นพิธีแต่งงานของชาวไทยสมัยก่อน เพราะกล้วยหมายถึงความเจริญงอกงาม ได้ผลดกดื่นเหมือนกล้วยในแทบทุกชนชาติของเอเชีย ยังมีเหตุผลความเชื่อลึก ๆ ว่ากล้วยเป็นสัญลักษณ์แห่งชีวิตและการเจริญเติบโต ข้อนี้เป็นความเชื่อที่ถูกต้องเพระเด็กในสังคมเมืองทั่วโลกในปัจจุบันก็เติบโตโดยอาศัยกล้วยแปรรูป หรือพิวรี (banana puree) มาใช้ผสมเป็นอาหารเด็กจนได้ชื่อว่า "เด็กยุคพิวรีกล้วย" อยู่แล้ว (the pureed-banana generation)

 

วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

ดูภาพขนาดใหญ่
          ในวันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปีนั้น เป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเป็นวันที่เราควรจะทำอะไรสักอย่างเพื่อสภาพแวดล้อมของเราที่ย่ำแย่ลงทุกวัน สังเกตได้จากปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งหิมะขั้วโลกเหนือละลาย น้ำท่วม แผ่นดินไหว หรืออากาศร้อนขึ้น ซึ่งผลเหล่านี้ล้วนมาจากการมนุษย์ที่เป็นคนทำลายธรรมชาติ ทำลายสิ่งแวดล้อมดีๆ นั่นเอง ทำให้หน่วยงานของโลกจัดตั้งวันสิ่งแวดล้อมโลกขึ้น

 



วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี
รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์
ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"ประวัติวันแม่

        
  แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุน จนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป 

          มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความ สำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวัน แม่ของชาติ 

          ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ในระบบเศรษฐกิจ แรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลผลิต พลังของผู้ใช้แรงงานจะแฝงอยู่ในผลผลิตทุกชิ้น ดังนั้นความมั่นคงก้าวหน้าหรือความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ แรงงานย่อมมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ทั้งในด้านผลประโยชน์ค่าตอบแทน และสวัสดิการ ฯลฯ
        ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างจริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432
        ในประเทศยุโรปส่วนมาก ก็กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานเช่นเดียวกัน และเรียกว่า "วันกรรมกรสากล" หรือ วันเมย์เดย์ ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน
        ในเมืองไทยเริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานขึ้นใน พ.ศ.2475 เมื่อรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ.2475
        การบริหารแรงงาน หมายถึงการจัดสรรและพัฒนาแรงงาน คุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน สร้างรากฐานและขบวนการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาระการสร้างงานประกอบอาชีพ
        เพื่อ พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งกองกรรมกรขึ้น ทำหน้าที่ด้านการจัดหางาน และศึกษาภาวะความเป็นอยู่ของคนงานทั่วไป พ.ศ.2499 รัฐบาลได้ขยายกิจการสัมพันธ์มากขึ้น และประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฉบับแรก พ.ศ.2508 และปีเดียวกันนี้ได้มีการจัดตั้งกรมแรงงานขึ้น อีกทั้งประกาศใช้พระ ราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ในปัจจุบันใช พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
        ปัจจุบันการบริหารงานอยู่ในความรับผิดชอบของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม